วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปงาน Gift on the moon 2013























ที่มา : https://plus.google.com/photos/106859402467376205758/albums/5979536080097506337?banner=pwa
จาก : http://typefacesdesign.blogspot.com/

ยอดขายรวม

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งาน Gift on the Moon 2014 วันที่สอง 12 กุมภาพันธ์ 2557

บรรยากาศการจำหน่ายสินค้าวันที่สอง





































คอมเพลนจากลูกค้า : สินค้ามีให้ลายให้เลือกน้อยลง แต่มีความคุ้มค่า สมเหตุสมผล

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งาน Gift on the Moon 2014 วันแรก

บรรยากาศการจำหน่ายสินค้าวันแรก


































Typorender Mood Board

Typorender Backdrop





































Sketch ชุดฟ้อนต์ ที่ใช้ในการออกแบบ

ยอดขาย :
















คอมเพลนจากลูกค้า : สินค้ามีความน่ารัก แปลกใหม่ ราคาเหมาะสม แต่มีให้เลือกน้อยไปหน่อย

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Thai Unicode Character Ranges ตารางรหัสรูปอักขระตามมาตรฐานยูนิโค้ด ตัวอักษรภาษาไทย

      ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย)


Unicode คือการบันทึกแบบ 16 บิต ต่อตัวอักษร หรือ UTF-16 (กรณีภาษาอังกฤษและไทย แต่บางภาษาอาจใช้ 32 บิต)
เช่น "ABC กขค" จะบันทึกเป็น FF FE 41 00 42 00 43 00 20 00 01 0E 02 0E 04 0E ค่า FF FE ที่อยู่ต้นไฟล์ คือ BOM (Byte order mark) ของ Unicode UTF-16 สำหรับบอกว่า รหัส Unicode ที่ตามมานั้น จะเรียงโดย ไบต์ต่ำมาก่อน (Little Endian = LE) โปรแกรมทั่วไปสามารถใช้ BOM นี้ในการบอกได้ว่าไฟล์นี้เป็นแบบ UTF-16 (LE)

Unicode Big Endian คือการบันทึกแบบ  UTF-16 แต่เรียงไบต์สูงมาก่อน (Big Endian )
เช่น "ABC กขค" จะบันทึกเป็นFE FF 00 41 00 42 00 43 00 20 0E 01 0E 02 0E 04ค่า FE FF ที่อยู่ต้นไฟล์ คือ BOM ของ UTF-16 ((Big Endian =BE)

ที่มา  : http://thanaicomtech.blogspot.com/2013/02/ansi-unicode-utf-8.html



Character
(decimal)
DecimalCharacter
(hex)
HexName
35850E01THAI CHARACTER KO KAI
35860E02THAI CHARACTER KHO KHAI
35870E03THAI CHARACTER KHO KHUAT
35880E04THAI CHARACTER KHO KHWAI
35890E05THAI CHARACTER KHO KHON
35900E06THAI CHARACTER KHO RAKHANG
35910E07THAI CHARACTER NGO NGU
35920E08THAI CHARACTER CHO CHAN
35930E09THAI CHARACTER CHO CHING
35940E0ATHAI CHARACTER CHO CHANG
35950E0BTHAI CHARACTER SO SO
35960E0CTHAI CHARACTER CHO CHOE
35970E0DTHAI CHARACTER YO YING
35980E0ETHAI CHARACTER DO CHADA
35990E0FTHAI CHARACTER TO PATAK
36000E10THAI CHARACTER THO THAN
36010E11THAI CHARACTER THO NANGMONTHO
36020E12THAI CHARACTER THO PHUTHAO
36030E13THAI CHARACTER NO NEN
36040E14THAI CHARACTER DO DEK
36050E15THAI CHARACTER TO TAO
36060E16THAI CHARACTER THO THUNG
36070E17THAI CHARACTER THO THAHAN
36080E18THAI CHARACTER THO THONG
36090E19THAI CHARACTER NO NU
36100E1ATHAI CHARACTER BO BAIMAI
36110E1BTHAI CHARACTER PO PLA
36120E1CTHAI CHARACTER PHO PHUNG
36130E1DTHAI CHARACTER FO FA
36140E1ETHAI CHARACTER PHO PHAN
36150E1FTHAI CHARACTER FO FAN
36160E20THAI CHARACTER PHO SAMPHAO
36170E21THAI CHARACTER MO MA
36180E22THAI CHARACTER YO YAK
36190E23THAI CHARACTER RO RUA
36200E24THAI CHARACTER RU
36210E25THAI CHARACTER LO LING
36220E26THAI CHARACTER LU
36230E27THAI CHARACTER WO WAEN
36240E28THAI CHARACTER SO SALA
36250E29THAI CHARACTER SO RUSI
36260E2ATHAI CHARACTER SO SUA
36270E2BTHAI CHARACTER HO HIP
36280E2CTHAI CHARACTER LO CHULA
36290E2DTHAI CHARACTER O ANG
36300E2ETHAI CHARACTER HO NOKHUK
36310E2FTHAI CHARACTER PAIYANNOI
36320E30THAI CHARACTER SARA A
กั3633กั0E31THAI CHARACTER MAI HAN-AKAT (combined with ko kai (ก))
36340E32THAI CHARACTER SARA AA
36350E33THAI CHARACTER SARA AM
กิ3636กิ0E34THAI CHARACTER SARA I (combined with ko kai (ก))
กี3637กี0E35THAI CHARACTER SARA II (combined with ko kai (ก))
กึ3638กึ0E36THAI CHARACTER SARA UE (combined with ko kai (ก))
กื3639กื0E37THAI CHARACTER SARA UEE (combined with ko kai (ก))
กุ3640กุ0E38THAI CHARACTER SARA U (combined with ko kai (ก))
กู3641กู0E39THAI CHARACTER SARA UU (combined with ko kai (ก))
กฺ3642กฺ0E3ATHAI CHARACTER PHINTHU (combined with ko kai (ก))
฿3647฿0E3FTHAI CURRENCY SYMBOL BAHT
36480E40THAI CHARACTER SARA E
36490E41THAI CHARACTER SARA AE
36500E42THAI CHARACTER SARA O
36510E43THAI CHARACTER SARA AI MAIMUAN
36520E44THAI CHARACTER SARA AI MAIMALAI
36530E45THAI CHARACTER LAKKHANGYAO
36540E46THAI CHARACTER MAIYAMOK
ก็3655ก็0E47THAI CHARACTER MAITAIKHU (combined with ko kai (ก))
ก่3656ก่0E48THAI CHARACTER MAI EK (combined with ko kai (ก))
ก้3657ก้0E49THAI CHARACTER MAI THO (combined with ko kai (ก))
ก๊3658ก๊0E4ATHAI CHARACTER MAI TRI (combined with ko kai (ก))
ก๋3659ก๋0E4BTHAI CHARACTER MAI CHATTAWA (combined with ko kai (ก))
ก์3660ก์0E4CTHAI CHARACTER THANTHAKHAT (combined with ko kai (ก))
กํ3661กํ0E4DTHAI CHARACTER NIKHAHIT (combined with ko kai (ก))
ก๎3662ก๎0E4ETHAI CHARACTER YAMAKKAN (combined with ko kai (ก))
36630E4FTHAI CHARACTER FONGMAN
36640E50THAI DIGIT ZERO
36650E51THAI DIGIT ONE
36660E52THAI DIGIT TWO
36670E53THAI DIGIT THREE
36680E54THAI DIGIT FOUR
36690E55THAI DIGIT FIVE
36700E56THAI DIGIT SIX
36710E57THAI DIGIT SEVEN
36720E58THAI DIGIT EIGHT
36730E59THAI DIGIT NINE
36740E5ATHAI CHARACTER ANGKHANKHU


ที่มา :
3675

http://thaifont.info/p=71


0E5B

THAI CHARACTER KHOMUT

สรุปผลการศึกษาวันที่ 28 มกราคม 2557

การแก้ไข Font Information ในโปรแกรม FontLab Studio


Font Information คือ ส่วนที่ต้องตั้งค่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลฟ้อนต์และเจ้าของฟ้อนต์นั้นๆ


Name and Copyright ส่วนของชื่อชุดตัวพิมพ์ ตระกูลของตัวพิมพ์ ปีที่สร้าง ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ตัวฝัง และข้อมูลผู้ออกแบบชุดตัวพิมพ์นั้นๆ
Version and Identification ส่วนที่บอกรุ่นของชุดตัวพิมพ์ ข้อมูลการสร้างการแก้ไข เอกลักษณ์ที่ระบุของชุดตัวพิมพ์
Metrics and Dimensions ส่วนของ การวัดและขนาด จำพวก Ascender , Descender,Cap height,x height ความหนา ระยะเอน เป็นต้น
Encoding and Unicode ส่วนของ การเข้ารหัส และ ช่วงรหัสยูนิโค้ด การสนับสนุนของระบบปฏิบัติการ
Hinting Settings ส่วนของการตั้งค่าความ คมชัดของตัวอักษรขณะแสดงผล เช่นขนาดสเต็ม แนวต่างๆ
Postscrip-Specific Settings ส่วนของการตั้งค่าตัวพิมพ์ที่เป็นโพสสคริปต์ โดยเฉพาะ เช่นการส่งออกไฟล์ การเรียงglyph การเข้ารหัส
Truetype-Specific Settings ส่วนของการตั้งค่าตัวพิมพ์ที่เป็นทรูไทป์โดยเฉพาะ เช่น แผน เครื่องมือวัดระยะ การควบคุมความนุ่มนวลของฟ้อนต์ เป้นต้น
Binary and custom tables  ส่วนการตั้งค่าบัญชีที่เป็นคู่ และการกำหนดบัญชีเอง (OT and TT)
Font note ส่วนที่ใส่ข้อความเกี่ยวกับชุดตัวพิมพ์

รูปเพชรสีเขียว ใช้สำหรับ เจนเนอเรตข้อมูลให้เป้นชุดเดียวกัน


งาน : ปรับแก้ไขข้อมูลฟ้อนต์จากฟ้อนต์ที่ศึกษาโครงสร้างฟ้อนต์ลานจันทร์ เปลี่ยนข้อมูลชื่อ ปีที่ออกแบบ ใส่รูปตัวเองโดย ปรับจากโปรแกรมIllustrator ลงในช่อง Glyph "F720" และส่งไฟล์ .ttf ตั้งชื่อ CRU LanChand 56 (ชื่อ) .ttf อัพโหลดขึ้นกูเกิลไดรฟ์และพิมพ์ข้อมูลฟ้อนต์ 1 ชุดส่งอาจารย์

สมัครเว็บไซด์ : Pinterest

งานฟ้อนต์เดี่ยว Display สามารถสร้างพื้นหลังจากฟ้อนต์เดิมได้โดยไปที่ Tools>Backgroud>Create ใช้เป็นแบบอย่างได้

ฟ้อนต์ที่ได้จากการศึกษาจากโครงสร้างฟ้อนต์ ชุด Lanchand อาจารย์มอบให้นักศึกษาเป็นฟ้อนต์ประจำตัวและเป็นต้นแบบในการสร้างฟ้อนต์ต่อๆมา









วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปการศึกษาวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2557

ส่งมู้ดบอร์ด และรายงานกลุ่ม โครงการออกแบบสินค้าเพื่อจำหน่ายในงาน Gift On the Moon 2014

ตรวจสอบและรับฟังคำวิจารณ์ ความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์กับอาจารย์ เพื่อไปปรับปรุงแก้ไขงานของกลุ่ม
โดยมีข้อเสนอความคิดเห็นจากอาจารย์ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ต้องขายได้ และต้องรุู้ว่าขายกับใคร ผลิตภัณฑ์ต้องมีขายตลอดสามวันที่จัดงาน
การดำเนินงานต้องเป็นตามหลัก 3 ส. สืบค้น สมมติฐาน สรุป  


สืบค้น - คือการค้นขว้ารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะขาย สิ่งที่จะเอามาประกอบกับการขาย เช่นผลิตภัณฑ์นี้คืออะไร คุณสมบัติประโยชน์การใช้งานมีอะไรบ้าง  มีที่มาและกระบวนการผลิตยังไง ประวัติและต้นกำเนิด บรรจุภัณฑ์ทำจากอะไร ลักษณะอย่างไร วิธีการผลิตความยากง่ายในการทำต้นทุนและกำไรเท่าไหร่  ลวดลาย การออกแบบสัญลักษณ์ที่ใช้มาจากอะไร ที่มายังไง การทำงานเป็นไปในทิศทางไหน ประกอบด้วยอะไรบ้าง ขายให้ใครเป้าหมายกลุ่มไหน รวมไปถึงการแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม ว่าใครทำอะไร จะทำสไตล์ไหน อย่างไร รวมถึงวัตถุประสงค์ของการทำงาน และเครื่ององมือที่ใช้ในการศึกษา

สมมติฐาน - คือการคาดคะเนผลที่จะได้รับและ ความเป็นไปได้ในการทำสินค้านั้น ต้องมีแบบเกตช์ การทดลอง และทดสอบ ทำของตัวอย่าง โดยผ่านการกลั่นกรองมาจากขั้นตอน ส.แรก คือ สืบค้น โดยต้องมีความเกี่ยวข้องและการออกแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระวิชา โดยมี Mood Board และรายงานนำเสนอเพื่อรับคำปรึกษากับอาจารย์

สรุป - คือการประมวลผลสัมฤทธิทางการศึกษาทั้ง หมด ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าจริงจำหน่ายในงาน Gift on the Moon 2014 โดยการทำรูปเล่ม การนำเสนอ โดยวัดผลจากยอดขายในการจำหน่าย และความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยสรุปผลถึงปัญหาที่พบ ข้อเสนอแนะต่างๆ


ส่งรายงานการแก้ไขโดยคร่าวๆ
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านการพิจารณา และเริ่มต้นแก้ไขดำเนินงานใหม่โดยสัปดาห์ต่อไปต้องมีงาน
 Mood Board และ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของสมาชิกในกลุ่มของแต่ละคน เพื่อ นำเสนอแนวความคิดของสมาชิกกับสินค้าที่ทำของตนเอง ที่สอดคล้องกับรูปแบบเป้าหมาย หรือ concept ของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด
พร้อม รายงาน 1 ฉบับ

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันที่ 7 มกราคม 2557

Midterm Test
แก้ไขงาน ครั้งที่แล้ว เรียนรู้เรื่องเส้น และสัญลักษณ์ต่างๆในโปรแกรมฟ้อนต์แลบ เพิ่มเติม
การหลอกสายตาจากตัวอักษรที่มีความโค้ง การทำงานของ Glyph Metric

งานที่รับมอบหมาย
งานนำเสนอ (Moodboard) สินค้าสำหรับงาน Gift On The Moon (กลุ่ม) ตอนคอนเซปต์ 3 ส
ฟ้อนต์ใหม่ ประเภท Display พร้อมรายงาน
อาจารย์เป็นที่ปรึกษา 

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันที่ 17 ธันวาคม 2556

1.แปลสรุปข่าวของตนเอง
การใช้งานโปรแกรม FontLab Studio 
วิธีการนำ Glyph จาก Adobe Illustrator มาใช้ใช้ใน FontLab Studio




ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=ZsQ_bSxZ8Ms
                   FontLab Studio เป็นโปรแกรมแก้ไขตัวอักษรระดับมืออาชีพสำหรับวิชาการพิมพ์ขั้นสูง มันสามารถนำเข้าและส่งออก TrueType, ชนิดที่ 1 และแบบอักษร OpenType มีรูปวาด glyph กว้างขวางและเครื่องมือในการแก้ไขตัวชี้วัดขั้นสูงหลายระดับปริญญาโทและคุณสมบัติการแปลงตัวอักษร font การจัดการภาษาแมโครจะถูกรวมเป็นเป็นโปรแกรมแก้ไขคุณลักษณะ OpenType FontLab เกือบทั้งหมดสนับสนุนการเข้ารหัสแบบอักษรและ codepages และสามารถนำเข้า / ส่งออกแบบอักษรที่มีถึง 6400 ตัวอักษร
 ส่วนต่างๆ ของโปรแกรมคร่าวๆมีดังนี้
1 .File คือส่วนที่ใช้เปิดงาน เซฟงาน
2.Edit ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข สำเนา
3.View ส่วยที่เกี่ยวกับมุมมองต่างๆ
4.Contour ส่วนที่เกี่ยวกับเส้นของGlyph
5.Glyphs ส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งรูปอักขระ การสร้างรูปอักขระ
6.Tools ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่างๆในโปรแกรม ทดสอบ
7.Windows ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าต่างการทำงาน เครื่องมือต่างๆ
8.Help ส่วนช่วยเหลือ เช่น บอก Short cut คีย์บอร์ดในการทำงาน

เรียนรู้เรื่อง รหัส Unicode ที่อยุ่กับ Glyph ต่างๆของตัวอักษร
งานที่ได้รับ มอบหมาย
1. ไฟล์ฟ้อนต์ จาก โปรแกรม FontLab Studio  CRU Name 56 .vfb
2. ไฟล์ฟ้อนต์ จาก โปรแกรม FontLab Studio  CRU Name 56 .ttf เพื่อเปิดในกูเกิ้ลไดรฟ์
3.รายงานขั้นตอนการฉบับสมบูรณ์ 16 หน้า

ขั้นตอนการทำงาน

1.ทำการดาวน์โหลด ชุดตัวพิมพ์ CRU Lanchand 56 จากไซท์ thaifont.info จากนั้น install ลงในเครื่องให้เรียบร้อย จากนั้นเปิดโปรแกรม  FontLab Studio ขึ้นมา ไปที่ File>Open Installed เลือก หาชุดฟ้อนต์ที่ชื่อ    CRU Lanchand 56  แล้วกด OK จะได้เทมเพลท ฟ้อนต์ของ CRU Lanchand 56  เพื่อใช้ในการทำงานแก้ไขโครงสร้างตัวอักษร 
2.ปรับแต่งข้อมูลที่อยุ่ส่วนล่างของ เทมเพลท Choose the cell caption เลือกเป็นรหัส Unicode,  Select Mapping Mode เลือกเป็น Page Mode, Choose encoding or codepage เลือกเป็น MS Windows 874 Thai (OEM)
3.ดับเบิ้ลคลิก ที่ ตัวพิมพ์ รหัส “2026” ชื่อ “ellipsis” จะเป็น ภาพ Glyph จุดสามสุดเรียงต่อกัน ลบGlyph ทั้งหมดทิ้ง จะได้พื้นที่การทำงานการจัดเรียงรูปแบบตัวอักษร ที่เป็นมาสเตอร์ได้ ซึ่งจะมีลักษณะเส้นหลายๆ เส้น ทับกัน เส้นเหล่านั้นคือระยะที่จะกำหนดขนาดของ ตัวอักษร ที่เราจะนำGlyph ที่ได้จากการศึกษาโครงสร้างและสไตล์ของฟ้อนต์ จากฟ้อนต์ต้นแบบที่สร้างไว้ มาแก้ไขปรับแต่ง
4.กลับไปยัง โปรแกรม Adobe Illustrator  ใช้ลูกศรลากคลุม Glyph ตัวอักษรบางส่วน (ทีละแถว) ทำการสำเนา Ctrl + C กลับไปที่โปรแกรม FontLab Studio ในช่อง Glyph “ellipsis” ทำการวางโดยการ กด Ctrl + Vตัวอักษรทั้งหมดที่สำเนามาจะอยู่ในรูปแบบ Glyph ในหน้าต่างการทำงานนี้ ซึ่งสามารถขยายได้ดัง
5.สร้างมาสเตอร์ในช่องUnicode 2026 ดังนี้ตัว H x p d บูื้ ญ ฟ ฏ โดยกำหนดระยะกั้นหน้าหลัง เพื่อใช้เป้นต้นแบบสัดส่วนในการแก้ไขฟ้อนต์
6.แก้ไขตัวอักษร ในGlyph ต่างๆตามฟ้อนต์ต้นแบบ ลงในเทมเพลทให้ครบ พร้อมทำการเทียบเคียงขนาดสัดส่วน
7.ทดสอบการใช้งาน และเซฟไฟล์
8.ทำรายงานขั้นตอนวิธีการ 16 หน้า แบบละเอียด
9.อัพไฟล์ทั้งหมดขึ้น Google Drive

สร้างงานโดยใช้แบบอักษรต้นแบบ CRU Lanchand 56 ในการศึกษาโครงสร้างมาตรฐานของฟ้อนต์


Ascender  ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก  ที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
Descender  ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline  ของตัวอักษร
Cap height  ความสูงจากเส้น baseline  ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
x-height   หมายถึง  ความสูงของตัวอักษร ในแบบพิมพ์เล็ก  ซึ่งมักจะใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบนและส่วนล่าง
Baseline คือเส้นพื้นฐาน ของตัวอักษร เป็นต้น
     ซึ่งเราจะต้องแก้ไข glyph ให้ตรงกับมาตรฐานของโครงสร้าง
เริ่มต้นจากตัวอักษร A และ เรียงตามตัวอักษรไปเรื่อยๆ ขยายให้ใหญ่โดยการใช้ลูกศรลากคลุม แล้วใช้เครื่องมือ Scale  ขยายโดยจัดวางให้ตรงตามกับเส้นกำกับส่วนต่างๆ โดยใช้เครื่องมือ ลูกศรลากตามจุดต่างๆ ของ Glyph แล้วจัดตัวอักษรให้ตรงกับเส้นกำกับต่างๆ ตัวใหญ่ของตัวอักษรภาษาอังกฤษจะสูงจากระดับBaseline ถึง ระดับ Cap height ซึ่งเป็นเส้นระดับมาตรฐาน  การแก้ไขเส้นกำหนดเส้นระยะกันหน้าหลัง เพื่อเป็นตัวอย่าง 

ตัวเลขให้ทำเช่นเดียวกับตัวอักษรละตินตัวใหญ่ เพราะมีขนาดความสูงเท่า Cap line แต่จะมีความกว้างของตัวGlyph เล็กกว่าเล็กน้อย ตามขนาดสรีระ ของตัวเลขนั้นๆ Stem (ส่วนที่เป็นแกน)มีขนาดเท่ากับ ตัวอักษรละตินใหญ่เช่นกัน


ต้นฉบับ ฟ้อนต์ Lanchand 56 Glyph อักษรละติน ตัวเล็ก หรือภาษาอังกฤษตัวเล็ก มีวิธีการเหมือน ตัวอักษรละตินตัวใหญ่ แต่สัดส่วนของ Glyphจะมีขนาดเล็กกว่าตัวใหญ่ ทั้งความกว้าง และส่วนสูงซึ่งอักษรตัวเล็กจะสูงจาก Base line จนถึงระดับ Mean line เรียกว่า X-height  แต่จะมีบางตัวเช่น ตัว b, d, h, k, l ส่วนที่ยื่นขึ้นไปจะอยู่ระดับ สูงกว่า  Cap line เล็กน้อย ซึ่งอยู่ระหว่าง Ascender line กับ Cap lineบางตัวที่มี่ส่วนที่ยื่นลงไปด้านล่างเช่น ตัว p,q ส่วนที่ยื่นลงไปจะอยู่ที่ระดับเกือบกึ่งกลางของ Descender 



ตัวพิมพ์ไทย มีสัดส่วนคือ จาก Base line ขึ้นไปเกินครึ่งหนึ่ง ระหว่าง Mean Line กับ Cap line  ภาพที่13ในสัดส่วนตัวพิมพ์ละติน การวัดระยะส่วนต่างๆให้ใช้ฟ้อนต์ต้นฉบับเป็นหลัก  ระยะกั้นหลังมีส่วนสำคัญกับตัวอักษรไทยหน่วยประมาณ 60 กั้นแบ่งระหว่างแต่ละตัว
 ตัวอักษรที่มีส่วนหางที่ยื่นขึ้นไปของตัวอักษร ป ฟ ฝ อยู่กึ่งกลางAscender line กับ Cap line ตัวอักษรที่มีหางยื่นลงมา เช่น ญ ฎ ฏ ฐ ฤ ฦ อยู่กึ่งกลางระหว่าง Base line กับ Descender line
สัดส่วน สระ จำพวกด้านบนเช่น อิ อี มีส่วนมีสัดส่วนตั้งแต่ Cap line จนถึงครึ่งหนึ่งของ Ascender line หลักการเดียวกับ ตัวอักษรที่มีหางยื่นขึ้นไป สระ ที่อยู่ใต้อักษรเป็นหลักการเดียวกับ ตัวอักษรที่ยื่นลงมาคืออยู่กึ่งกลางระหว่าง Base line กับ Descender line  ส่วนวรรณยุกต์จะอยู่ชิดบนสุด Ascender Line