วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปผลการศึกษา วันที่ 3 ธันวาคม 2556

ฟังแปลสรุปข่าว เกี่ยวกับฟ้อนต์  และรับการแจ้งเตือนในการส่งบทความแปลสรุปข่าว
      ฟังคำวิจารณ์จากอาจารย์เกี่ยวกับโครงสร้างฟ้อนต์ เส้นไกด์มีความสำคัญในการออกแบบ เป็นตัวกำหนดทิศทางของตัวอักษร ตามระยะ และกำหนดลักษณะทางกายภาพต่างๆของฟ้อนต์ เช่น ascender,descender line, cap-,x- height ความกว้างของตัวอักษร ดีไซน์ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในชุดรูปแบบเดียวกันและมีความเป็นระเบียบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : http://martinsilvertant.deviantart.com/art/Typography-Series-01-Anatomy-of-typography-329617642
       
        เปิดใช้งาน Adobe Illustrator เพื่อทดลองการทำฟ้อนต์สไตล์ต่างๆจาก ที่ทำการศึกษาโครงสร้างของฟ้อนต์ CRU Lanchand โดยการก็อบปี้เลเยอร์ และปิดตาเลเยอร์เดิม เช่นการใช้ stroke เป็นการเล่นเส้นและการออกแบบ การปรับขนาดเส้น หัวตัด หัวกลมเป็นต้นการสร้างสรรค์งานนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีการ การเปลี่ยนเส้นให้เป็นรูปร่างทำได้โดย ไปที่ Object>Path>Outline Stroke ใช้ในการสร้างสรรค์งานได้เช่นกัน
     สไตล์ของฟ้อนต์ที่นิยมในการออกแบบให้เข้ากับfont family และใช้งาน มีหลักๆ 4 ประเภทคือ
1.ตัวธรรมดา (Regular) 2.ตัวหนา (Bold) 3.ตัวเอียง(Italic) 4.ตัวหนาเอียง (Bolditalic)


ที่มา : http://www.personal.psu.edu/cab38/GEOG321/03_type02/type3.html

งานที่ได้รับมอบหมาย
     ปรับปรุงแก้ไข และเขียนโครงสร้างของตัวอักษร CRU Lanchand ที่เหลือให้เสร็จ เพิ่มเติมสัญลักษณ์หรือตัวพิมพ์ที่ขาดไป นำโครงสร้างของตัวอักษรเดิม มาพัฒนาโดยการ copy layer โดยปิดตา layer เดิมไว้ สร้างสรรค์ตัวอักษรเพิ่มเติมจากโครงสร้าง เส้นร่างตัวอักษรเดิม 4 สไตล์(แบบ)โดยมีเส้นไกด์เป็นเส้นนำในการออกแบบ  รวมกับโครงสร้างเดิมเป็น 5 สไตล์ (ตั้งชื่อlayer เป็นชื่อเราตามด้วย styles) มี
1.ชื่อ Regular (แบบโครงสร้างเดิม เป็นตัวมาสเตอร์)
2.ชื่อ Bold 
3.ชื่อ Italic(เอียงประมาณ 9องศา ถึง13องศา)
4.ชื่อ Bolditalic
5.ชื่อ สไตล์ของเรา ตั้งชื่อตามความเหมาะสมตามลักษณะตัวอักษร ให้เป็นสากล เช่น (Dnunai Round ดนุนัย กลม)

- การทำงานต้อง แคปภาพวิธีการและขั้นตอนการศึกษาโดยละเอียดเพื่อเป็นหลักฐาน ใช้ในการเขียนรายงานทั้งนี้เพื่อเป็นมาร์ครูปแบบของตนเอง และเป็นการศึกษาที่มีที่มาที่ไป
- กำหนดระยะห่างของตัวอักษร และระยะห่างระวังคำให้เท่ากัน จาก ชื่อ นามสกุล และ รหัสนักศึกษา (ต้องใส่ทุกLayer และเป็นไปตามสไตล์ของ Layer นั้นๆ)
ส่ง พร้อมรายงาน

งานกลุ่ม
     2.แก้ไขปรับปรุงและเพิ่มความคิดเห็นในไฟล์ "ความหมายของชื่อกลุ่ม" ในแฟ้มงานของกลุ่ม ในกูเกิ้ลด็อค โดยการทำเป็นไฮไลต์ที่ชื่อ ที่ตั้งไว้ กดคลิกขวา และเพิ่มแสดงความคิดเห็นแล้วพิมพ์ ชื่อกลุ่มที่ตนเองตั้ง ตามชื่อที่ได้ช่วยกันตั้งและอภิปราย
     1.ส่งงาน การออกแบบตัวอักษร ข้อมูลการออกแบบ (ค้นคว้า) และ โลโก้ไทป์ให้ครบทุกคน ตามแฟ้มที่จัดไว้ให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น