การใช้งานโปรแกรม FontLab Studio
วิธีการนำ Glyph จาก Adobe Illustrator มาใช้ใช้ใน FontLab Studio
ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=ZsQ_bSxZ8Ms
FontLab Studio เป็นโปรแกรมแก้ไขตัวอักษรระดับมืออาชีพสำหรับวิชาการพิมพ์ขั้นสูง มันสามารถนำเข้าและส่งออก TrueType, ชนิดที่ 1 และแบบอักษร OpenType มีรูปวาด glyph กว้างขวางและเครื่องมือในการแก้ไขตัวชี้วัดขั้นสูงหลายระดับปริญญาโทและคุณสมบัติการแปลงตัวอักษร font การจัดการภาษาแมโครจะถูกรวมเป็นเป็นโปรแกรมแก้ไขคุณลักษณะ OpenType FontLab เกือบทั้งหมดสนับสนุนการเข้ารหัสแบบอักษรและ codepages และสามารถนำเข้า / ส่งออกแบบอักษรที่มีถึง 6400 ตัวอักษร
ส่วนต่างๆ ของโปรแกรมคร่าวๆมีดังนี้
1 .File คือส่วนที่ใช้เปิดงาน
เซฟงาน
2.Edit ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข สำเนา
3.View ส่วยที่เกี่ยวกับมุมมองต่างๆ
4.Contour ส่วนที่เกี่ยวกับเส้นของGlyph
5.Glyphs ส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งรูปอักขระ การสร้างรูปอักขระ
6.Tools ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่างๆในโปรแกรม
ทดสอบ
7.Windows ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าต่างการทำงาน
เครื่องมือต่างๆ
8.Help ส่วนช่วยเหลือ เช่น บอก Short cut คีย์บอร์ดในการทำงาน
เรียนรู้เรื่อง รหัส Unicode ที่อยุ่กับ Glyph ต่างๆของตัวอักษร
งานที่ได้รับ มอบหมาย
1. ไฟล์ฟ้อนต์ จาก โปรแกรม FontLab Studio CRU Name 56 .vfb
2. ไฟล์ฟ้อนต์ จาก โปรแกรม FontLab Studio CRU Name 56 .ttf เพื่อเปิดในกูเกิ้ลไดรฟ์
3.รายงานขั้นตอนการฉบับสมบูรณ์ 16 หน้า
ขั้นตอนการทำงาน
1.ทำการดาวน์โหลด ชุดตัวพิมพ์ CRU
Lanchand 56 จากไซท์ thaifont.info จากนั้น
install ลงในเครื่องให้เรียบร้อย จากนั้นเปิดโปรแกรม FontLab Studio ขึ้นมา
ไปที่ File>Open Installed เลือก หาชุดฟ้อนต์ที่ชื่อ CRU
Lanchand 56 แล้วกด OK
จะได้เทมเพลท ฟ้อนต์ของ CRU Lanchand 56 เพื่อใช้ในการทำงานแก้ไขโครงสร้างตัวอักษร
2.ปรับแต่งข้อมูลที่อยุ่ส่วนล่างของ เทมเพลท Choose
the cell caption เลือกเป็นรหัส Unicode, Select Mapping Mode เลือกเป็น
Page Mode, Choose encoding or codepage เลือกเป็น MS
Windows 874 Thai (OEM)
3.ดับเบิ้ลคลิก ที่ ตัวพิมพ์ รหัส “2026” ชื่อ “ellipsis” จะเป็น ภาพ Glyph จุดสามสุดเรียงต่อกัน ลบGlyph ทั้งหมดทิ้ง
จะได้พื้นที่การทำงานการจัดเรียงรูปแบบตัวอักษร ที่เป็นมาสเตอร์ได้
ซึ่งจะมีลักษณะเส้นหลายๆ เส้น ทับกัน เส้นเหล่านั้นคือระยะที่จะกำหนดขนาดของ
ตัวอักษร ที่เราจะนำGlyph ที่ได้จากการศึกษาโครงสร้างและสไตล์ของฟ้อนต์
จากฟ้อนต์ต้นแบบที่สร้างไว้ มาแก้ไขปรับแต่ง
4.กลับไปยัง โปรแกรม Adobe Illustrator ใช้ลูกศรลากคลุม Glyph ตัวอักษรบางส่วน (ทีละแถว) ทำการสำเนา Ctrl + C กลับไปที่โปรแกรม
FontLab Studio ในช่อง Glyph “ellipsis” ทำการวางโดยการ กด Ctrl + Vตัวอักษรทั้งหมดที่สำเนามาจะอยู่ในรูปแบบ
Glyph ในหน้าต่างการทำงานนี้ ซึ่งสามารถขยายได้ดัง
5.สร้างมาสเตอร์ในช่องUnicode 2026 ดังนี้ตัว H x p d บูื้ ญ ฟ ฏ โดยกำหนดระยะกั้นหน้าหลัง เพื่อใช้เป้นต้นแบบสัดส่วนในการแก้ไขฟ้อนต์
6.แก้ไขตัวอักษร ในGlyph ต่างๆตามฟ้อนต์ต้นแบบ ลงในเทมเพลทให้ครบ พร้อมทำการเทียบเคียงขนาดสัดส่วน
7.ทดสอบการใช้งาน และเซฟไฟล์
8.ทำรายงานขั้นตอนวิธีการ 16 หน้า แบบละเอียด
9.อัพไฟล์ทั้งหมดขึ้น Google Drive
สร้างงานโดยใช้แบบอักษรต้นแบบ CRU Lanchand 56 ในการศึกษาโครงสร้างมาตรฐานของฟ้อนต์
Ascender ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
Descender ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline ของตัวอักษร
Cap height ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
x-height หมายถึง
ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก
ซึ่งมักจะใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบนและส่วนล่าง
Baseline คือเส้นพื้นฐาน
ของตัวอักษร เป็นต้น
ซึ่งเราจะต้องแก้ไข glyph ให้ตรงกับมาตรฐานของโครงสร้าง
เริ่มต้นจากตัวอักษร A และ เรียงตามตัวอักษรไปเรื่อยๆ
ขยายให้ใหญ่โดยการใช้ลูกศรลากคลุม แล้วใช้เครื่องมือ Scale ขยายโดยจัดวางให้ตรงตามกับเส้นกำกับส่วนต่างๆ
โดยใช้เครื่องมือ ลูกศรลากตามจุดต่างๆ ของ Glyph
แล้วจัดตัวอักษรให้ตรงกับเส้นกำกับต่างๆ
ตัวใหญ่ของตัวอักษรภาษาอังกฤษจะสูงจากระดับBaseline ถึง
ระดับ Cap height ซึ่งเป็นเส้นระดับมาตรฐาน การแก้ไขเส้นกำหนดเส้นระยะกันหน้าหลัง
เพื่อเป็นตัวอย่าง
ตัวเลขให้ทำเช่นเดียวกับตัวอักษรละตินตัวใหญ่
เพราะมีขนาดความสูงเท่า Cap line แต่จะมีความกว้างของตัวGlyph
เล็กกว่าเล็กน้อย ตามขนาดสรีระ ของตัวเลขนั้นๆ Stem (ส่วนที่เป็นแกน)มีขนาดเท่ากับ ตัวอักษรละตินใหญ่เช่นกัน
ต้นฉบับ ฟ้อนต์ Lanchand 56 Glyph อักษรละติน ตัวเล็ก
หรือภาษาอังกฤษตัวเล็ก มีวิธีการเหมือน ตัวอักษรละตินตัวใหญ่ แต่สัดส่วนของ Glyphจะมีขนาดเล็กกว่าตัวใหญ่ ทั้งความกว้าง
และส่วนสูงซึ่งอักษรตัวเล็กจะสูงจาก Base line จนถึงระดับ Mean
line เรียกว่า X-height
แต่จะมีบางตัวเช่น ตัว b, d, h, k, l ส่วนที่ยื่นขึ้นไปจะอยู่ระดับ
สูงกว่า Cap line เล็กน้อย
ซึ่งอยู่ระหว่าง Ascender line กับ Cap lineบางตัวที่มี่ส่วนที่ยื่นลงไปด้านล่างเช่น ตัว p,q
ส่วนที่ยื่นลงไปจะอยู่ที่ระดับเกือบกึ่งกลางของ Descender
ตัวพิมพ์ไทย มีสัดส่วนคือ จาก Base line ขึ้นไปเกินครึ่งหนึ่ง ระหว่าง Mean
Line กับ Cap line ภาพที่13ในสัดส่วนตัวพิมพ์ละติน
การวัดระยะส่วนต่างๆให้ใช้ฟ้อนต์ต้นฉบับเป็นหลัก
ระยะกั้นหลังมีส่วนสำคัญกับตัวอักษรไทยหน่วยประมาณ 60 กั้นแบ่งระหว่างแต่ละตัว
ตัวอักษรที่มีส่วนหางที่ยื่นขึ้นไปของตัวอักษร ป ฟ ฝ
อยู่กึ่งกลางAscender line กับ Cap line ตัวอักษรที่มีหางยื่นลงมา เช่น ญ ฎ ฏ ฐ ฤ ฦ อยู่กึ่งกลางระหว่าง
Base
line กับ Descender line
สัดส่วน สระ จำพวกด้านบนเช่น อิ อี มีส่วนมีสัดส่วนตั้งแต่
Cap line จนถึงครึ่งหนึ่งของ Ascender line หลักการเดียวกับ ตัวอักษรที่มีหางยื่นขึ้นไป
สระ ที่อยู่ใต้อักษรเป็นหลักการเดียวกับ ตัวอักษรที่ยื่นลงมาคืออยู่กึ่งกลางระหว่าง
Base line กับ Descender line ส่วนวรรณยุกต์จะอยู่ชิดบนสุด Ascender
Line
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น